ทักษะ Critical Thinking ถูกพูดถึงมากว่าเป็นทักษะจำเป็นในยุคที่เรามีข้อมูลข่าวสารมากมายและต้องพิจารณาให้ดีว่าควรจะเชื่อหรือไม่ มีโอกาสที่ข้อมูลจะถูกบิดเบือนมากแค่ไหน
แต่นั่นอาจจะไม่เพียงพอเมื่อเรากำลังมีคอนเทนต์ที่มากเกินกว่าที่เราจะวิเคราะห์และพิจารณาได้
นั่นคือประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่ผมอ่านเจอจากบทความในต่างประเทศ เพราะแม้ว่า Critical Thinking จะเป็นทักษะที่สำคัญจริง แต่มันก็ต้องใช้เวลาสำหรับผู้เสพข้อมูลจะต้องพิจารณาและวิเคราะห์ให้ดีถึงความน่าเชื่อถือและถูกต้องของข้อมูลที่เราเสพผ่านการแชร์ บอกต่อ หรือแม้แต่กับแหล่งข่าวต่าง ๆ
แต่เมื่อเรามีข้อมูลที่มากเกินไป ก็เป็นการยากที่เราจะมีเวลามากพอที่จะพิจารณาทุกข้อมูลได้ ก็เหมือนกับการที่เรา Search หาข้อมูลบางอย่างในโลกออนไลน์วันนี้ก็เว็บไซต์มากมายที่นำเสนอข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวนั้น ๆ หรืออย่างเวลาเกิดอะไรขึ้นในโลกออนไลน์ปัจจุบันก็จะมีเพจต่าง ๆ คอนเทนต์ออกมามากมายชนิดท่วม Timeline / Feed เลยก็ได้
ทักษะที่เราต้องเพิ่มตามมาคือการคัดกรองและรู้ว่าสื่อไหน ช่องทางไหนที่ควรจะเชื่อถือ เรื่องไหนที่ควรจะเก็บเอามาคิดพิจารณา เรื่องราวและข้อมูลใดที่ควรจะมองผ่าน ข้าม หรือไม่ต้องสนใจ ซึ่งนั่นเป็นที่มาของทักษะที่เรียกว่า Critical Igoring นั่นเอง ทั้งนี้ การพิจารณาเพื่อข้าม ปัดผ่านนั้น หากคิดดูให้ดีแล้วก็พบว่าสำคัญอยู่ไม่น้อย หากมองข้ามผิดไปก็อาจจะพลาดข้อมูลสำคัญไปได้เช่นกัน
ทักษะ Critical Ignoring นี้อาจจะทำให้เราต้องถามกลับมาว่าเรามีกระบวนการคัดกรองข้อมูลที่จะเข้าถึงตัวเราได้อย่างไร เราใช้เงื่อนไขแบบใดเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือ ความน่าสนใจของชุดข้อมูล แหล่งข้อมูล ที่เราจะเลือกรับสารเข้ามา
และในขณะเดียวกันนั้น มันก็กลายเป็นโจทย์เดียวกันให้กับสื่อหรือผู้ให้บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ ว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ข้อมูลและคอนเทนต์ของตนนั้นผ่านการคัดกรองของ Critical Ignoring นี้ได้นั่นเอง
コメント