top of page

5 ทักษะการคิดสำคัญ ที่ควรพัฒนาให้พนักงานเสียแต่วันนี้


ทักษะการคิด

ทักษะการคิดกลายเป็นทักษะที่ถูกพูดถึงและนำมาโฟกัสในกาารพัฒนาบุคคลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับรายงานต่าง ๆ ก็ชี้ไปทางคล้ายกันว่าการติดอาวุธให้กับพนักงานนั้น ทักษะการคิดเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กับทักษะด้านการทำงานหรือการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ด้วย


แต่ถึงกระนั้น ทักษะการคิดก็มีหลากหลายด้านจนทำให้หลาย ๆ คนอาจจะสับสนว่าอันไหนคืออะไร เราควรจะเรียนหรือพัฒนาอะไรกันบ้าง เลยขอหยิบทักษะการคิดสำคัญ ๆ มาอธิบายพอสังเขปให้เข้าใจและเลือกศึกษาเพิ่มเติมต่อได้ตามความต้องการของแต่ละคน


Systematic Thinking (การคิดเป็นระบบ)

คือการปรับให้กระบวนการคิดมีลำดับขั้นที่ชัดเจน แบ่งแยกการคิดออกเป็นขั้นตอนและร้อยเรียงกันอย่างมีประสิทธิภาพแทนที่จะเป็นการคิดแบบเปะปะ ผสมปนเปจนสับสนและยากจะหาข้อสรุป

เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการให้พนักงานมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบ มีกระบวนการคิดที่สอดคล้องกัน ไปในกระบวนการเดียวกัน ไม่เกิดสถานการณ์ประเภท “สรุปว่าไม่สรุป” มีการมองประเด็นต่าง ๆ อย่างมีหลักการ ขั้นตอน และดำเนินการคิดได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

การใช้งาน: วางแผน, ประชุม, เรียบเรียงความคิด, การสื่อสาร, ตัดสินใจ


Analytical Thinking (การคิดวิเคราะห์)

คือการมีทักษะที่จะแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาวิเคราะห์ หารูปแบบ ความเชื่อมโยง การเป็นเหตุเป็นผลเพื่อสามารถนำมาสู่ข้อสรุปสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ การหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ หรือการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากข้อมูลที่มี

เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ให้ลึกขึ้นกว่าเดิม สามารถเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น ดีขึ้น เพื่อนำไปสู่การหาวิธีการแก้ปัญหาต่อไป

การใช้งาน: การวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์, การแก้ปัญหา


Creative Thinking (การคิดสร้างสรรค์)

คือการคิดเพื่อหาทางเลือกใหม่ ความเป็นไปได้ใหม่ หรือการพัฒนาปรับปรุงสิ่งเดิมให้ดีขึ้น โดยการคิดแบบ Creative Thinking นั้นมักจะถูกพูดถึงว่าจำเป็นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ตลอดจนการแก้ปัญหาด้วยแนวทางที่ต่างไปจากเดิมซึ่งจะถูกโยงไปเรื่องของการสร้างนวัตกรรม (ช่วง Ideation ใน Design Thinking)

เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการหาวิธีการแก้ปัญหา การดำเนินการต่าง ๆ ที่ต่างไปจากเดิม ต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจ การตลาด การบริการ ฯลฯ

การใช้งาน: การพัฒนานวัตกรรม, การแก้ปัญหา, การหาไอเดียใหม่ ๆ


Critical Thinking (การคิดเชิงวิพากษ์)

คือการคิดเพื่ออย่างมีหลักการ เป็นเหตุเป็นผล สร้างสมมติฐานและหาข้อสรุปอย่างมีหลักที่ชัดเจน ถูกต้อง ถี่ถ้วน สามารถเชื่อมโยงและเห็นเป็นตรรกะได้ เช่นเดียวกับทำให้การโต้แย้งต่าง ๆ นั้นมีหลักการ ไม่ใช่การโต้แย้งโดยไร้เหตุผล ไม่สามารถเข้าใจได้

เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการให้พนักงานสามารถวิเคราะห์ประเด็นและสถานการณ์ได้อย่างมีเหตุมีผล สามารถวิพากษ์ นำเสนอไอเดียได้อย่างมีหลักการ น่าเชื่อถือ มีการพูดคุยและสื่อสารภายในองค์กรด้วยเหตุและผล

การใช้งาน: การวิเคราะห์, การนำเสนอ, การวิพาษ์วิจารณ์, การตัดสินใจ


Strategic Thinking (การคิดเชิงกลยุทธ์)

บางคนอาจจะบอกว่านี่คือการคิดเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีหลักการ เป็นขั้นเป็นตอน เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาหรือบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การคิดแบบกลยุทธ์นั้นมีอยู่หลายรูปแบบแต่อยู่กับแกนสำคัญคือการเข้าใจปัญหาและกระบวนการในการแก้ปัญหานั้น ๆ

เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหาและรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ของพนักงาน เช่นปัญหาทางด้านการตลาด การเอาชนะคู่แข่ง หรือการวางแผนกลยุทธ์ที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ

การใช้งาน: การวางแผน, การตัดสินใจ, การแก้ปัญหา

 

ที่หยิบมานี้คือทักษะการคิดพื้นฐานสำคัญๆ ที่ต่อยอดกลายไปสู่การคิดสำคัญ ๆ อย่างเช่น Design Thinking, Agile Thinking, Innovative Thinking เป็นต้น ซึ่งก็จะเป็นเหมือนกับ Framwork การคิดที่นำเอาทักษะเหล่านี้ไปประกอบกันตามลำดับขั้นของ Framework นั่นเอง

Comments


ติดตามข่าวสารและอัปเดตจาก dots.

Thanks for subscribing.

bottom of page